โปรแกรม Odoo ERP โทร : 096-915-9956
นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 717,366 คน แยกเป็นชาย 356,229 คน หญิง 361,137 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก
ให้บริการเกี่ยวกับโปรแกรม ใช้งานง่าย ช่วยวางแผนธุรกิจ ERP
SIAM ERP
Odoo เป็นซอฟต์แวร์ทางธุรกิจหรือ ERP ที่มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วที่สุดในโลก อีกทั้งเป็นแอพลิเคชันที่รองรับการทำงานทางด้านธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบที่คุณต้องการ ตั้งแต่ จากเว็บไซต์ไปจนถึงกระบวนการผลิต, การควบคุมคลังสินค้า และทางบัญชี ซึ่งทุกสิ่งที่คุณต้องการใช้ในธุรกิจได้ถูกรวบรวมไว้แล้วใน Odoo ซึ่งนับว่าเป็น Software ตัวแรกที่มีการรองรับการแก้ไขที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการใช้งานจริง โดยการวิเคราะห์ระบบ พร้อมทั้งพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการศึกษาความต้องการลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อตอบสนองความต้องการ ของธุรกิจเป็นหลัก มีการออกแบบ และ พัฒนาระบบงาน ให้เหมาะสม และ ตรงกับความต้องการของธุรกิจของคุณอย่างยั่งยืน ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทางเรามีความยินดี แนะนำให้ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี ที่มีประโยชน์กับลูกค้า เพื่อตอบสนองถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ ด้วยความน่าเชื่อถือ, และการช่วยเหลือทางด้านเทคนิคอย่างมืออาชีพ สิ่งสำคัญที่สุด คือการที่เราได้เน้น ให้ความสำคัญกับลูกค้า ถึงประสบการณ์การใช้งานระบบ ซึ่งต้องให้ตอบความต้องการ ระหว่างลูกค้า กับ ระบบ Odoo ได้ด้วย
ธุรกิจที่เหมาะจะใช้ Odoo?
ประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับระบบ Odoo ในเมืองไทย อาทิ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจเสริมความงามและสุขภาพ ธุรกิจทางด้านการแพทย์ ระบบบริการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจการบริการ ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจบันเทิง และ การโฆษณา ระบบบัญชีและการเงิน ระบบการศึกษา
ไม่ว่าคุณจะจัดการกำหนดการของพนักงานหรือคาดการณ์โครงการของคุณระบบการวางแผนของ Odoo ช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่การประสานงาน และทำให้การจัดระเบียบเป็นเรื่องง่ายแสนง่าย สร้างกะงาน มอบหมายงาน และปรับเปลี่ยนการมอบหมายงานด้วยการคลิกลากและวางเพียงครั้งเดียว
พนักงานของคุณสามารถเข้าถึงกำหนดการของตนเองผ่านทางพอร์ทัลส่วนตัวของตนเอง โดยจะได้รับทั้งมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับกะงานของตนเอง และสามารถเลือกกะงานที่ว่างอยู่หรือปรับเปลี่ยนกำหนดการของตนเองโดยตรงจากคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน
เปลี่ยนใบเสนอราคาให้เป็นใบสั่งขายในคลิกเดียว หรือให้ลูกค้าเซ็นเอกสารด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย
ออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าตามเวลาและวัสดุ บันทึกข้อมูลสัญญาและติดตามระยะเวลาในการออกใบแจ้งหนี้ได้ง่าย ๆ รักษาโอกาสในการต่ออายุและการขายต่อยอด และจัดการการสมัครสมาชิกของคุณด้วยระบบทำสัญญาแบบประจำตามรอบของ Odoo
พอร์ทัลสำหรับลูกค้าจะช่วยให้ลูกค้าของคุณสามารถเข้าถึงใบเสนอราคา ใบสั่งขาย และใบส่งสินค้าของตนได้ ประหยัดเวลาและใช้ Odoo Sign เพื่อลงนามบน NDA สัญญา หรือเอกสาร PDF ทั้งหมดได้ง่าย ๆ
เชื่อมต่อรายการเคลื่อนไหวในบัญชีของคุณเข้ากับธนาคารโดยอัตโนมัติ หรือนำเข้าไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย จัดทำใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้องชัดเจนในแบบมืออาชีพ จัดการกับการเรียกเก็บแบบประจำตามรอบ และติดตามการชำระเงินได้ง่ายๆ ควบคุมใบแจ้งหนี้ของซัพพลายเออร์ และคาดการณ์ยอดเรียกเก็บที่คุณต้องจ่ายในอนาคคได้อย่างแม่นยำ ระหยัดเวลาและทำให้ 95% ของการกระทบยอดเป็นระบบอัตโนมัติ ด้วยเครื่องมือกระทบยอดบัญชีที่ชาญฉลาดของเรา
จัดระเบียบโกดังสินค้าของคุณให้ดียิ่งขึ้นด้วยระบบการลงบัญชีสินค้าคงคลังแบบบัญชีคู่อันชาญฉลาด รับระบบการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมทั้งปรับปรุงการปฏิบัติงานภายในของคุณ ระบบสินค้าคงคลังแบบลงรายการคู่ของ Odoo ไม่ต้องมีข้อมูล input หรือ output หรือการแปลงข้อมูล เพราะการปฏิบัติงานทั้งหมดก็เพียงแค่ย้ายสต๊อกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น
ติดตามทุกความเคลื่อนไหวในสต๊อก นับตั้งแต่จัดซื้อ เข้าคลังสินค้า ไปจนถึงใบสั่งขาย ติดตามหมายเลขล็อตหรือหมายเลขซีเรียลในแบบอัปสตรีมหรือดาวน์สตรีมได้จากทุกที่ในซัพพลายเชนของคุณ
ประวัติศาสตร์
จังหวัดนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นเพียงเมืองหนึ่งในอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งพบหลักฐานโบราณคดีค่อนข้างน้อยเช่น ซากเจดีย์ 3 องค์บริเวณวัดเขากง อายุ1,300ปี(ต่อมาถูกรื้อถอนแล้วสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลแทน) พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์นิกายมนตยานบิรเวณวัดเขากงเช่นกัน ต่อมา กลายเป็นอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา ขึ้นกับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองเช่นกัน โดยประวัติความเป็นมาของนราธิวาสนั้น มีความชื่อมโยงกับเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ยกทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้เพื่อปราบปรามข้าศึกที่เข้ามาทางปักษ์ใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้ว จึงเสด็จประทับ ณ เมืองสงขลา และได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ที่เคยขึ้นกับอยุธยามาก่อน ให้มาอ่อนน้อมดังเดิม โดยพระยาไทรบุรี และพระยาตรังกานูยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่พระยาปัตตานีแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงรับสั่งให้ยกทัพไปเมืองปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2332 เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานตราตั้งให้แก่พระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไป และตั้งในเป็นเมืองมนตรีขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองสงบเรียบร้อยปกติสุขตลอดมา ครั้นเมื่อพระยาปัตตานีถึงแก่กรรม โปรดเกล้าฯ ให้นายพ่าย น้องชายพระยาหลวงสวัสดิภักดีผู้ช่วราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งอยู่ที่บ้านยามู
ในระหว่างนั้นพวกของซาเห็ดรัตนวงศ์ฯ และพวกโมเซฟได้เริ่มก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมือง โดยคบคิดกับปล้นบ้านพระยาปัตตานี และบ้านหลวงสวัสดิภักดี แต่ก็ได้ถูกตีถอยหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านกะลาพอ แขวงเมืองสายบุรี นอกจากนั้นเมืองปัตตานีซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม เที่ยวปล้นบ้านเรือนราษฎรจนเหลือกำลังที่พระยาปัตตานีจะปราบให้ราบคาบได้ จึงแจ้งราชการไปยังเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถียนจ๋อง) ออกมาปราบปราม และจัดนโยบายแบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี, เมืองหนองจิก, เมืองยะลา, เมืองรามันห์, เมืองระแงะ, เมืองสายบุรี และเมืองยะหริ่ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีพระยาปัตตานี (ต่วนสุหลง), พระยาหนองจิก (ต่วนกะจิ), พระยายะลา (ต่วนบางกอก) และพระยาระแงะ (หนิเดะ) โดยเจ้าเมืองทั้ง 4 ได้สมคบคิดกันเป็นกบฏขึ้น จึงโปรดเกล้าให้พระยาเพชรบุรี และพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ลงมาปราบ และพิจารณาเห็นว่า หนิบอสูชาวบ้านบางปูซึ่งพระยายะหริ่แต่งตั้งให้เป็นกรมการเมืองยะหริ่งได้เป็นกำลังสำคัญ และได้ทำการต่อสู้ด้วยความกล้าหาญยิ่ง ด้วยคุณงามความดีนี้จึงได้แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะ สืบต่อจากพระยาระแงะ (หนิเดะ) ที่หนีไป และได้ย้ายที่ว่าราชการจากบ้านระแงะมาตั้งใหม่ที่ตำบลตันหยงมัส
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า เพราะการแบ่งเขตแขวงการปกครอง และตำแหน่งหน้าที่ราชการในหัวเมืองทั้ง 7 ที่ยังทับซ้อนกันอยู่หลายแห่ง จึงได้วางระเบียบแผนการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการให้เป็นระเบียบตามสมควรแก่กาลสมัย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2444
ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 มีประกาศพระบรมราชโองการให้แยกบริเวณ 7 หัวเมืองออกมาจากมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลปัตตานี เพื่อสะดวกแก่ราชการ และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน ในปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายที่ว่าราชการจากเมืองระแงะ ตำบลตันหยงมัส มาตั้งที่บ้านมะนาลอ (บางมะนาวในปัจจุบัน) อำเภอบางนรา ส่วนท้องที่เมืองระแงะ และได้ยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา มีอำเภอในการปกครองได้แก่ อำเภอบางนรา, อำเภอตันหยงมัส, กิ่งอำเภอยะบะ, อำเภอสุไหงปาดี และกิ่งอำเภอโต๊ะโมะ
ครั้นต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองบางนรา ทรงพระราชทานพระแสงศาสตราแก่เมืองบางนรา และทรงดำริว่าบางนรานั้นเป็นชื่อตำบลบ้าน และควรที่จะมีชื่อเมืองไว้เป็นหลักฐานสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองนราธิวาส" ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของคนดี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2458
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งยิ่งใหญ่ และให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเป็นเปลี่ยนเป็น "จังหวัดนราธิวาส" จากนั้นเป็นต้นมา
ชื่อนราธิวาสเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2458 ชื่อเดิมของพื้นที่นี้คือ มนารา หรือ มนารอ ซึ่งมีความหมายว่า
"หอคอย"ที่กลายมาจากคำว่า กูวาลา มนารา ที่มีความหมายว่า "กระโจมไฟ" หรือ "หอคอยที่ปากน้ำ"ส่วนชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะเรียกว่า บางนรา หรือ บางนาค ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองขึ้นใหม่ว่า นราธิวาส อันมีความหมายว่า "อันเป็นที่อยู่ของคนดี"
การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 77 ตำบล 589หมู่บ้าน
อำเภอเมืองนราธิวาส
อำเภอตากใบ
อำเภอบาเจาะ
อำเภอยี่งอ
อำเภอระแงะ
อำเภอรือเสาะ
อำเภอศรีสาคร
อำเภอแว้ง
อำเภอสุคิริน
อำเภอสุไหงโก-ลก
อำเภอสุไหงปาดี
อำเภอจะแนะ
อำเภอเจาะไอร้อง