โปรแกรม Odoo ERP โทร : 096-915-9956
สุรินทร์ (ภาษากูย: เหมอง-สุลิน, เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น กูย กวย หรือ ส่วย ไทยอีสานหรือลาว เขมร หรือขะแมร์ มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24
- ตราประจำจังหวัด : รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่หน้าปราสาทหินศีขรภูมิ (เดิมเรียกว่าปราสาทหินบ้านระแงง)
- คำขวัญประจำจังหวัด : สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม
- พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นมะค่าแต้ (Sindora siamensis)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกันเกรา (Fagraea fragrans)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกันเกรา
ให้บริการเกี่ยวกับโปรแกรม ใช้งานง่าย ช่วยวางแผนธุรกิจ ERP
SIAM ERP
Odoo เป็นซอฟต์แวร์ทางธุรกิจหรือ ERP ที่มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วที่สุดในโลก อีกทั้งเป็นแอพลิเคชันที่รองรับการทำงานทางด้านธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบที่คุณต้องการ ตั้งแต่ จากเว็บไซต์ไปจนถึงกระบวนการผลิต, การควบคุมคลังสินค้า และทางบัญชี ซึ่งทุกสิ่งที่คุณต้องการใช้ในธุรกิจได้ถูกรวบรวมไว้แล้วใน Odoo ซึ่งนับว่าเป็น Software ตัวแรกที่มีการรองรับการแก้ไขที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการใช้งานจริง โดยการวิเคราะห์ระบบ พร้อมทั้งพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการศึกษาความต้องการลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อตอบสนองความต้องการ ของธุรกิจเป็นหลัก มีการออกแบบ และ พัฒนาระบบงาน ให้เหมาะสม และ ตรงกับความต้องการของธุรกิจของคุณอย่างยั่งยืน ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทางเรามีความยินดี แนะนำให้ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี ที่มีประโยชน์กับลูกค้า เพื่อตอบสนองถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ ด้วยความน่าเชื่อถือ, และการช่วยเหลือทางด้านเทคนิคอย่างมืออาชีพ สิ่งสำคัญที่สุด คือการที่เราได้เน้น ให้ความสำคัญกับลูกค้า ถึงประสบการณ์การใช้งานระบบ ซึ่งต้องให้ตอบความต้องการ ระหว่างลูกค้า กับ ระบบ Odoo ได้ด้วย
ธุรกิจที่เหมาะจะใช้ Odoo?
ประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับระบบ Odoo ในเมืองไทย อาทิ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจเสริมความงามและสุขภาพ ธุรกิจทางด้านการแพทย์ ระบบบริการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจการบริการ ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจบันเทิง และ การโฆษณา ระบบบัญชีและการเงิน ระบบการศึกษา
ไม่ว่าคุณจะจัดการกำหนดการของพนักงานหรือคาดการณ์โครงการของคุณระบบการวางแผนของ Odoo ช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่การประสานงาน และทำให้การจัดระเบียบเป็นเรื่องง่ายแสนง่าย สร้างกะงาน มอบหมายงาน และปรับเปลี่ยนการมอบหมายงานด้วยการคลิกลากและวางเพียงครั้งเดียว
พนักงานของคุณสามารถเข้าถึงกำหนดการของตนเองผ่านทางพอร์ทัลส่วนตัวของตนเอง โดยจะได้รับทั้งมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับกะงานของตนเอง และสามารถเลือกกะงานที่ว่างอยู่หรือปรับเปลี่ยนกำหนดการของตนเองโดยตรงจากคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน
เปลี่ยนใบเสนอราคาให้เป็นใบสั่งขายในคลิกเดียว หรือให้ลูกค้าเซ็นเอกสารด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย
ออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าตามเวลาและวัสดุ บันทึกข้อมูลสัญญาและติดตามระยะเวลาในการออกใบแจ้งหนี้ได้ง่าย ๆ รักษาโอกาสในการต่ออายุและการขายต่อยอด และจัดการการสมัครสมาชิกของคุณด้วยระบบทำสัญญาแบบประจำตามรอบของ Odoo
พอร์ทัลสำหรับลูกค้าจะช่วยให้ลูกค้าของคุณสามารถเข้าถึงใบเสนอราคา ใบสั่งขาย และใบส่งสินค้าของตนได้ ประหยัดเวลาและใช้ Odoo Sign เพื่อลงนามบน NDA สัญญา หรือเอกสาร PDF ทั้งหมดได้ง่าย ๆ
เชื่อมต่อรายการเคลื่อนไหวในบัญชีของคุณเข้ากับธนาคารโดยอัตโนมัติ หรือนำเข้าไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย จัดทำใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้องชัดเจนในแบบมืออาชีพ จัดการกับการเรียกเก็บแบบประจำตามรอบ และติดตามการชำระเงินได้ง่ายๆ ควบคุมใบแจ้งหนี้ของซัพพลายเออร์ และคาดการณ์ยอดเรียกเก็บที่คุณต้องจ่ายในอนาคคได้อย่างแม่นยำ ระหยัดเวลาและทำให้ 95% ของการกระทบยอดเป็นระบบอัตโนมัติ ด้วยเครื่องมือกระทบยอดบัญชีที่ชาญฉลาดของเรา
จัดระเบียบโกดังสินค้าของคุณให้ดียิ่งขึ้นด้วยระบบการลงบัญชีสินค้าคงคลังแบบบัญชีคู่อันชาญฉลาด รับระบบการสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมทั้งปรับปรุงการปฏิบัติงานภายในของคุณ ระบบสินค้าคงคลังแบบลงรายการคู่ของ Odoo ไม่ต้องมีข้อมูล input หรือ output หรือการแปลงข้อมูล เพราะการปฏิบัติงานทั้งหมดก็เพียงแค่ย้ายสต๊อกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น
ติดตามทุกความเคลื่อนไหวในสต๊อก นับตั้งแต่จัดซื้อ เข้าคลังสินค้า ไปจนถึงใบสั่งขาย ติดตามหมายเลขล็อตหรือหมายเลขซีเรียลในแบบอัปสตรีมหรือดาวน์สตรีมได้จากทุกที่ในซัพพลายเชนของคุณ
ประวัติศาสตร์
จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างลองติจูด 103 และ 105องศาตะวันออก ละติจูด 15 และ 16 องศาเหนือ ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 420 กิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ และทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
การตั้งถิ่นฐาน
สมัยทวารวดี พบมีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานมาก่อนแล้วในดินแดนแถบอิสานใต้ ไปจนถึงบริเวณแถบอิสานกลางโดยชนชาติแรกๆ ที่ได้เข้าอาศัยอยู่ ชาติพันธุ์ตระกูลมอญ ละว้า ลั๊ว ขอม
สมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นต้นมา ซึ่งชาวขอม (กูย กวย ข่า ขมุ ลัวะ ละว้า เยอ หรือส่วย) ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมในแถบดินแดนอิสานใต้ และแถบสปป.ลาว สยาม กัมพูชา และญวน
สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ข้อมูลในพงศาวดาร เรื่องเล่าตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นที่อยู่ของชนหลายเผ่าพันธุ์ทั้ง สยาม ไทย กวยหรือกูย (ขอม) เขมร (ขะแมร์) ลาว ทำให้มีวัฒนธรรมที่หลากหลายที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน
เมืองโบราณเขตเมืองเก่าของเมืองสุรินทร์
เมืองโบราณเขตเมืองเก่าของเมืองสุรินทร์ อยู่พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์มีมนุษย์เข้ามาตั้งชุมชนแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ลักษณะชุมชนเป็นเนินดินมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ รูปวงรี หรือวงกลม ขนาดกว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,300 เมตร เป็นลักษณะเฉพาะของแผนผังเมืองโบราณตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นซึ่งพบทั่วไปในเขตภาคอีสานตอนล่าง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุรินทร์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 98 ลงวันที่ 19 กันยายน 2521
จากการสำรวจของหน่วยศิลปากรที่ 6 ในปี พ.ศ. 2534 พบว่าตัวเมืองยังมีสภาพที่สมบูรณ์เห็นแนวคูน้ำ-คันดินแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เมืองชั้นในและเมืองชั้นนอก
เมืองชั้นใน มีลักษณะเป็นรูปวงรีแบบสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น มีขนาดกว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,300 เมตร สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์ มีบางส่วนเท่านั้นที่ขาดหายไป
เมืองชั้นนอก มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชุมชนขอมโบราณ มีคูน้ำ 2 ชั้น คันดิน 1 ชั้นล้อมรอบ ขนาดกว้าง 1,500 เมตร ยาว 2,500 เมตร สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์ ยกเว้นด้านทิศใต้
จะเห็นได้ว่า ตัวเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เคยเป็นบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาหลายพันปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองสุรินทร์ในอดีต ตลอดจนถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่อย่างสำคัญที่คนสุรินทร์ในปัจจุบันจะช่วยกันรักษามรดกอันทรงคุณค่าชิ้นนี้ไว้ตราบชั่วลูกหลาน ด้วยการไม่บุกรุกทำลายคูน้ำคันดินของเมืองโบราณสุรินทร์
จากการศึกษาวิจัยการและสำรวจพบแหล่งโบราณคดีในจังหวัดสุรินทร์ กว่า 59 แห่ง ส่วนมากเป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ-คันดินล้อมรอบรูปวงรี หรือวงกลม ได้แก่
แหล่งโบราณคดีบ้านโนนสวรรค์ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี หมู่บ้านเป็นเนินสูงเกือบ 3 เมตร พบโบราณวัตถุได้แก่ เศษภาชนะดินเผาแบบต่างๆ รวมทั้งภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแบบขอม และพบภาชนะที่ใช้บรรจุมีลักษณะเป็นภาชนะก้นมนขนาดใหญ่ ที่ใช้ในการฝังศพครั้งที่สองของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปี มาแล้ว พบมากไปตลอดลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางแถบจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และขอนแก่น เป็นลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นที่ตั้งของปราสาททนง เป็นโบราณสถานขอมชึ่งกรมศิลปากรมีโครงการขุดแต่ง ในปี พ.ศ. 2536 และได้ขุดตรวจชั้นดินทางด้านหลังของโบราณสถาน พบหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นถึงการอยุ่อาศัยของมนุษย์มาก่อนจะสร้างปราสาท คือ โครงกระดูกมนุษย์เพศชาย อายุประมาณ 35- 40 ปี ปัจจุบันได้นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
นอกจากแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งนี้แล้ว ยังไม่มีการขุดค้นตามหลักวิชาการในอีกกว่า 50 แห่ง อาศัยเพียงเทียบเคียงค่าอายุกับแหล่งอื่น ๆ พอสรุปได้ว่ามีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปีมาแล้ว
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง (เป็นการเรียกไปเองของสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนอันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า กูย, กวย, ส่วย ซึ่งยังมีอาศัยอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก ซึ่งปรากฏหลักฐานการสร้างปราสาทหิน และจากอิฐดินเผาจำนวนมากมีกระจายอยู่ทั่วไปในแถบอิสานใต้ ละโว้ (ลพบุรี) ไปจนถึงในเขตภาคกลาง (สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยอาณาจักรทาวราวดี) และภาคเหนือตอนล่าง
จากหลักฐานที่พบภาชนะดินเผา ยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณจังหวัดสุรินทร์ และพบแหล่งชุมชนโบราณหลายแห่ง ย่อมแสดงให้เห็นว่า ในบริเวณจังหวัดสุรินทร์ มีผู้คนอาศัยนานมาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ในปีพ.ศ. 2538 นายเจริญ ไวรวัจยกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พร้อมคณะได้ศึกษาและเก็บข้อมูลชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ห้วยลำพลับพลาด้านบนและลำน้ำมูลด้านใต้ เนื่องจากพบเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก จากการสำรวจสันนิษฐานว่าเนินเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาอย่างต่อเนื่อง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบหลักฐานชุมชนสมัยทวารวดีทั้งภูมิภาค เมืองโบราณที่สำคัญ เช่น เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองโบราณบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมทวารวดี นั่นคือ การนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งก่อให้เกิดงานศิลปกรรมที่เนื่องในศาสนา ตามเมืองหรือชุมชนโบราณสมัยทวารวดีจะพบว่ามีการสร้างสิ่งก่อสร้าง หรือ รูปเคารพในศาสนาพุทธขึ้น ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ใบเสมา เป็นต้น
แหล่งวัฒนธรรมทวารวดีในสุรินทร์
วัฒนธรรมทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 หรือราว 1,000-1,400 ปีมาแล้ว
ในภาคอีสานตอนล่าง ชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุเดียวกับชุมชน ในจังหวัดต่างๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล เช่น เมืองเสมา (14.922564,101.797777) เมืองเก่าโคราช (14.907787, 101.861843) อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เมืองโบราณบ้านฝ้าย อำเภอหนองหงส์ เมืองโบราณบ้านประเคียบ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองคงโคก อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนโบราณบ้านไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ( กรมศิลปากร, 2532 : 114 - 116 ) เป็นต้น
ลักษณะชุมชนวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดสุรินทร์มักจะมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีโบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนา เช่น ใบเสมา พระพุทธรูป พระพิมพ์ เป็นต้น ชุมชนบ้านพระพืด ตำบลบ้านแร่ อำเภอเขาวสินรินทร์ (14.966087, 103.584871) เป็นแหล่งชุมชนโบราณลักษณะคันคูดินรูปวงกลม ชุมชนโบราณบ้านตรึม ตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ บริเวณบ้านตรึม มีลักษณะเป็นชุมชนที่มีคูน้ำล้อมรอบ ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองสิม ภายในวัดตรึม เป็นเนินดินมีใบเสมาปักอยู่ 16 ใบ ลักษณะเป็นแบบแผ่นรูปกลีบบัว ทำด้วยศิลาแลงและหินบะชอลต์ ใบเสมาทุกใบจะมีลักษณะของการตกแต่งที่เหมือนกัน นั่นคือ แกะสลักเป็นรูปหม้อน้ำ อยู่ตรงกลางใบทั้งสองด้าน ยอดเป็นกรวยแหลมบรรจบกับส่วนบนของใบเสมาพอดี ขอบใบเสมาแกะเป็นเส้นตรงโค้งไปตามขอบ ทำให้ดูเหมือนว่าผิวหน้าทั้งสองด้านของใบเสมายื่นออกมา ปัจจุบันทางวัดได้สร้างอาคารคลุมใบเสมาและเนินดินไว้
ชุมชนโบราณบ้านไพรขลา ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พบใบเสมา ที่โนนสิมมาใหญ่ และโนนสิมมาน้อย
โนนสิมมาใหญ่ อยู่ภายในหมู่บ้านทางทิศใต้ มีกลุ่มใบเสมาจำนวนมาก ปักอยู่ในตำแหน่งทิศทั้งแปดบางส่วนถูกเคลื่อนย้าย มาเก็บรวมกันไว้ในอาคารขนาดเล็ก ใบเสมาทั้งหมดทำจากศิลาแลง เป็นแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบเป็นรูปหม้อน้ำมียอดเป็นรูปกรวยแหลม หรือเป็นสันขึ้นมาทั้งสองด้าน ลักษณะการตกแต่งเหมือนกับใบเสมาที่บ้านตรึม
โนนสิมมาน้อย อยู่ทางทิศตะวันตกภายในหมู่บ้าน บริเวณนี้พบใบเสมาจำนวนเล็กน้อยอยู่รวมกันเพียงจุดเดียว ใบเสมาบางใบน่าจะปักอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยมีการย้ายใบเสมาใบอื่น ๆ มาวางรวมกันไว้ ลักษณะของใบเสมาเหมือนกับใบเสมาที่โนนสิมมาใหญ่ เป็นใบเสมาแบบแผ่นรูปกลีบบัว ตรงกลางใบทำเป็นสันทั้งสองด้าน ทั้งหมดทำจากศิลาแลง
ใบเสมาที่พบสันนิษฐานว่าปักไว้เพื่อกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสมัยนั้น
ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ จังหวัดสุรินทร์มีการสร้างปราสาทภูมิโพน ที่ ตำบลดม อำเภอสังขะ เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ในศาสนาฮินดูศิลปะขอมโบราณสมัยไพรกเมง (สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ,2532) ประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 หลัง และฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง 1 หลัง พบชิ้นส่วนจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต 1 ชิ้น ซึ่งมีใช้ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ทับหลังรูปสัตว์ครึ่งสิงห์ครึ่งนก ประกอบวงโค้งที่มีวงกลมรูปไข่ ศิลปะขอมโบราณแบบไพรกเมง จำนวน 1 แผ่น
บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากปราสาท 500 เมตร มีหนองปรือซึ่งเป็นบารายขนาดใหญ่ แบบวัฒนธรรมขอมโบราณ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 300X500 เมตร อยู่ 1 แห่ง
ราวกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 (ประมาณ 1,100 ปีมาแล้ว) ในเขตจังหวัดสุรินทร์ มีชุมชนวัฒนธรรมขอมโบราณที่สำคัญอีก 2 แห่ง คือ ชุมชนปราสาทหมื่นชัย บ้านถนน และชุมชนปราสาทบ้านจารย์ ตำบลบ้านจารย์ อำเภอสังขะ
ปราสาทบ้านจารย์ เป็นปราสาทศิลปะขอมโบราณสมัยเกาะแกร์ ราวกลาง-ปลายพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ บนตัวปราสาทมีทับหลังขนาดใหญ่สลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ปราสาทหมื่นชัย เป็นปราสาทองค์เดียว ก่อด้วยอิฐ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ ปัจจุบันตัวปราสาทมีสภาพหักพังเหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ
ปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ ก่อด้วยหินทราย และศิลาแลง
ปราสาททนง บ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลับพลาและปราสาทประธาน
ปราสาทบ้านไพล บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทอิฐ 3 องค์ มีขนาดเท่ากันตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ
ต่อมาในช่วงอารยธรรมขอมในประเทศกัมพูชาได้เจริญถึงขีดสุดราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 18 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย พบปราสาทหินและเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอม เป็นจำนวนมาก ได้แก่ เมืองพิมาย อันมีปราสาทพิมายเป็นศูนย์กลางของเมือง ตัวเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ เป็นต้น ช่วงระยะเวลานี้มีหลักฐานว่าเมืองสุรินทร์ได้รับอิทธิพลอารยธรรมของขอมโบราณอย่างมากเช่นกัน มีการปรับแผนผังเมืองให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบขอมโบราณมีคูน้ำ 2 ชั้น คันดิน 1 ชั้น ล้อมรอบ ขนาดกว้าง 1,500 เมตร ยาว 2,500 เมตร ล้อมรอบตัวเมืองเดิมรูปวงรีในสมัยก่อนหน้านั้นไว้ภายในอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพื้นที่อำเภอต่างๆ พบปราสาทขอมโบราณอีกหลายแห่ง
นักมานุษยวิทยา และนักโบราณคดีลงความเห็นว่า บริเวณที่ราบลุ่มตอนกลางของแม่น้ำมูลด้านตะวันออกและชุมชนทุ่งสำริด ในจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ และลุ่มแม่น้ำมูลชีตอนล่าง ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดอุบลราชธานี คือแหล่งอารยธรรมโบราณ บรรพชนของชุมชนเหล่านี้ ได้ประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผาเนื้อหยาบหนา ในยุคแรก ๆ ไม่มีลวดลายเขียนสี ในยุคต่อมาพัฒนาเป็นการเขียนสี และชุบน้ำโคลนสีแดง นอกจากนี้ยังได้ค้นพบหลักฐานแสดงการเปลี่ยนแปลงทางคติชนวิทยาที่สำคัญของมนุษยชาติ คือ ประเพณีฝังศพครั้งที่สองโดยการบรรจุกระดูกผู้ตายลงในภาชนะก่อนการนำไปฝัง ซึ่งการฝังครั้งแรกนั้นจะนำร่างผู้ตายลงในหลุมระยะหนึ่ง แล้วจึงขุดขึ้นเพื่อทำพิธีฝังครั้งที่สอง ลักษณะสำคัญของชุมชนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่ง คือ โครงสร้างของชุมชนมักแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่อาศัยมักอยู่บนเนินหรือที่ดอน โดยรอบเป็นที่ลุ่มสำหรับเป็นแหล่งทำกิน ด้าน ตะวันออกส่วนใหญ่เป็นศาสนสถานและด้านตะวันตกเป็นป่าช้า การขยายตัวของชุมชนมักขยายไปทางทิศตะวันตก ชุมชนเหล่านี้มีการขยายตัวทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมืองมีการสั่งสมหรือกวาดต้อนประชากรจากพื้นที่ต่าง ๆ จัดตั้งขยายเป็นชุมชนเมือง เป็นรัฐยุคต้นประวัติศาสตร์ ชุมชนเหล่านี้นี่เองที่หลอมรวมกันขึ้นเป็นอาณาจักรเจนละ หรืออีสานปุระ มีหลักฐานแสดงความเจริญหลายอย่าง เช่น การถลุงเหล็ก การทำเกลือ ปลูกข้าว การขุดคูกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและความปลอดภัย
ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองเก่าแก่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีวัฒนธรรมที่สั่งสมสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน สิ่งที่ปรากฏหลักฐานบ่งบอกชัดเจน ได้แก่ คูเมือง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพง สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ดังที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ทรงเรียบเรียง ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการรายงานตรวจราชการมณฑลอีสานและนครราชสีมา ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2469 ดังนี้
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองที่สร้างอย่างมั่นคงในปางก่อน มีคูถึง 3 ชั้น มีเนินดินเป็นกำแพงเมือง น่าจะเป็นเพราะเห็นว่าเป็นเมืองหน้าด่านทั้งทางตะวันออก และทางใต้ซึ่งมีช่องข้ามเขาบรรทัดต่อจังหวัดสุรินทร์อยู่หลายช่อง คือ ช่องปราสาทตาเมิน, ช่องเสม็ก, ช่องดอนแก้ว เป็นต้น ซึ่งมีทางเดินไปสู่ศรีโสภณ และเมืองจงกัน ยังมีคนและเกวียนเดินอยู่ทุกช่อง แต่เป็นทางลำบาก คงสะดวกแต่ช่องตะโก ต่อมาทางตะวันตก ซึ่งกรมทางได้ไปทำงานไว้เรียบร้อยแล้ว บริเวณเมืองสุรินทร์เป็นพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมตลอดปี แต่ก็ทำไร่นาได้ เป็นทุ่งใหญ่ บ้านเมืองกำลังจะเจริญขึ้น เพราะเป็นปลายทางรถไฟ มีห้องแถวคึกคักไม่หย่อนกว่าอุบล และกำลังสร้างทำอยู่อีกก็มีมาก
พลเมืองแห่งจังหวัดสุรินทร์เป็นกูย กวย ส่วย (ขอม) และเขมร เป็นชาวพื้นเมือง เช่น บุรีรัมย์บางส่วน นางรอง มีลาวเจือปนบ้างเป็นส่วนน้อย ซึ่งชาวกูย (ขอม กวย ข่า ละว้า ลั้ว ลื้อ เยอ หรือส่วย) พูดภาษาของตนต่างหากซึ่งเป็นภาษาของพลเมืองแรกเริ่มของชาวสุรินทร์และเป็นภาษาของผู้ก่อตั้งเมืองสุรินทร์คนแรก พระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) และชาวกูย กวย ส่วย (ขอม) ส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาท้องถิ่นได้หลายภาษา ส่วนพวกเขมรพลเมืองสุรินทร์ยังคงพูดภาษาเขมร อยู่ทั่วไปและที่กล่าวว่าไม่รู้ภาษาไทยก็มีต้องใช้ล่ามเนือง ๆ ผู้ปกครองท้องถิ่น เห็นว่าเป็นการดิ้นรน แสร้งทำเป็นพูดไทยไม่ได้ก็มีอยู่มาก ชาวเขมรต่ำอพยบและถูกจับเป็นเชลยเข้ามาในแถบเมืองสุรินทร์มากในปี พ.ศ. 2324 ซึ่งทางฝ่ายเขมรต่ำเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ
ในอดีตการไปมาถึงกันกับพวกเขมรต่ำในการปกครองฝรั่งเศสนั้น สอบสวนได้ความว่ายังมีอยู่เสมอแต่มีข้างฝ่ายคนเรื่องเขมรต่ำอพยพเข้ามาอยู่ทางเราเสียมากกว่า ปีหนึ่ง เข้าประมาณ 50 - 100 คน โดยมากเป็นเรื่องหนีส่วยอากรที่ทางฝ่ายโน้นเก็บแรงกว่าทางนี้ หรือการเกณฑ์แรงงาน ความยากจน และสงครามซึ่งเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ
จังหวัดสุรินทร์ มีลำดับการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งทางด้านการปกครอง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง จากการตั้งบ้านเรือนที่มีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายในอดีต มาเป็นวิถีชีวิตที่สลับซับซ้อนอย่างในปัจจุบัน โดยเฉพาะการสะท้อนความเคลื่อนไหวของผู้คนที่มีมิติความสัมพันธ์ต่อกันอยู่ตลอดเวลา อันเป็นลักษณะโดดเด่นของผู้คนชาวจังหวัดสุรินทร์
ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระยาประชากรกิจกรจักรเชื่อว่า ชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานล่างคือ สุรินทร์ นครราชสีมา หรือ โคราช (เมืองโคราชเก่า บริเวณอำเภอเสิงสาง เมืองพิมาย และบริเวณใกล้เคียง มีโบราณสถานเหลืออยู่ให้เห็น 3 แห่งด้วยกัน คือ ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองแขก และปราสาทเมืองเก่า การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ไปจนถึงกิโลเมตร ที่ 221-222 เลี้ยวขวาไปตามทางเข้าสู่อำเภอสูงเนิน 2.7 กิโลเมตร จะพบทางแยกขวามือตรงมุมวัดญาณโศภิตวนาราม (วัดป่าสูงเนิน) ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองโบราณโคราช รวมระยะทางห่างจากตัวเมืองประมาณ 32 กิโลเมตร) บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีบางส่วน กลุ่มแรกคือ กวย กูย ข่า ขมุ ลัวะ ละว้า เยอ (ทั้งหมดสืบเชื้อสายมาจากขอม) ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน แต่เรียกตามสำเนียงของภาษาพูดในแต่ละท้องถิ่น แต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ชาวส่วย (ขอม) อีริค ไซเดนฟาเดน นักชาติพันธุ์วิทยาชาวเดนมาร์ก สันนิษฐานว่าพวกกูย กวย เคลื่อนย้ายจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศพม่า และมาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อประมาณ 1,200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 3,000 ปีเศษมาแล้ว ชาวกูยเหล่านี้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่ภาคใต้ของลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พวกที่อพยพเข้ามาเป็นระรอกที่ 2 และที่ 3 คือ เขมรและลาว
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนอันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า กูย, กวย, ส่วย ซึ่งยังมีอาศัยอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก ซึ่งปรากฏหลักฐานการสร้างปราสาทหิน และจากอิฐดินเผาจำนวนมากมีกระจายอยู่ทั่วไปในแถบอิสานใต้ ละโว้ (ลพบุรี) ไปจนถึงในเขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง
เขมร (ขะแมร์) เพิ่งอพยพเข้ามาอยู่ในสมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นต้นมา ภายหลังได้ผสมกลมกลืนกับชาวขอม (กูย กวย ส่วย) ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองเดิมและได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า พวกเขมรป่าดง (ข่า-เขมร) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพวกลาวนั้นอพยพเข้ามาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ราว พ.ศ. 2257-พ.ศ. 2261
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้แพร่ขยายอิทธิพลทางการเมืองทำให้กัมพูชาตกอยู่ในฐานะประเทศราชและในระหว่างปีพ.ศ. 2103 อาณาจักรลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเวียงจันทน์ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091-พ.ศ. 2111) กษัตริย์ของลาวได้สร้างนครเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของล้านช้าง
ในปีพ.ศ. 2257 ลาวแตกออกเป็น 3 รัฐอิสระ คือหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ มีชาวกูย - ลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดพร้อมด้วยนักศึกษาวัด ทั้งที่กำลังศึกษา เป็นพระภิกษุสามเณรอยู่และที่จบการศึกษาแล้วเป็นอ้ายเชียง อ้ายทิด (บันฑิต) อ้ายจารย์ (อาจารย์) กับพวกข้าทางใต้ไปบูรณะพระธาตุพนม และไปจนถึงเขมร แล้วกลับมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์
เมืองจำปาศักดิ์นั้นเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองอัตตะปือแสนแปง (แสนแปง) ซึ่งต่างเป็นเมืองของพวกลัวะ ละว้า ขอม กูย (หรือชนเผ่าพันธุ์ที่เราเรียกว่ากูย กวย ข่า เยอ ส่วยในปัจจุบัน) ขณะนั้นเมืองจำปาศักดิ์ปกครองโดยนางแพง เจ้าหญิงข่า-ลัวะ (กูย กวย ขอม) ธิดาของนางเพากับเจ้าคำช้าง หรือบ้างคำ ด้วยคุณงามความดีของเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดป่าโพนสะเม็ด นางแพงจึงมอบอำนาจการปกครองเมืองจำปาศักดิ์ให้ เจ้าราชครูหลวงจึงได้อัณเชิญเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจากนครเวียงจันทน์ไปปกครองนครจำปาศักดิ์นับตั้งแต่พ.ศ. 2261-พ.ศ. 2281 เป็นต้นมา เมื่อเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้ปกครองจำปาศักดิ์แล้ว เจ้าราชครูแห่งวัดป่าโพนสะเม็ดจึงขยายอำนาจ โดยตั้งผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ออกไปปกครองเมืองของลัวะ ละว้า ข่าต่าง ๆ ภายในเขตเมืองจำปาศักดิ์ เช่น ส่งจารย์หวดเป็นเจ้าเมืองโขงสี่พันดอน ให้ท้าวมั่นไปตั้งบ้านโพนขึ้นเป็นเมืองสาระวันแต่ชาวบ้านชอบเรียกเมืองมั่นตามชื่อท้าวมั่นและเรียกควบกับเมืองคำทองใหญ่ว่าเมืองมั่นคำทอง ให้จารย์แก้ไปตั้งบ้านถ่ง (ท่ง) เป็นเมืองสุวรรณภูมิ (ในจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) ให้จารย์เซียงมาตั้งบ้านโนนสามขาเป็นเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษในปัจจุบัน) ตั้งได้ไม่นานเมืองศรีนครเขตก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
การแยกเป็นรัฐอิสระของอาณาจักรลาว ทำให้ทั้ง 3 รัฐ เกิดการแข็งต่อเมืองกันและต่างสะสมแสนยานุภาพไว้ต่อสู้ ป้องกันการรุกราน เมืองจำปาศักดิ์จึงบังคับให้อัตตะปือ แสนปางส่งช้างป้อนกองทัพให้แก่จำปาศักดิ์ตามที่ต้องการ ทำให้ชาวอัตตะปือแสนปางทนต่อสภาพถูกบีบบังคับไม่ได้ ส่วนหนึ่งจึงข้ามลำน้ำโขงเข้ามาอาศัยกับพวกกูย กวย หรือส่วยดั้งเดิมบริเวณป่าดงดิบแถบอีสานล่าง คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม และบางส่วนของนครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ
ชาวกูย กวย (ขอม) หลายกลุ่มพากันข้ามมาตั้งหลักแหล่งทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เพิ่มเติม (ซึ่งแต่เดิมมีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณภูมิภาคนี้มานานเป็นพันปีแล้ว) เมื่อพ.ศ. 2260 แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนและมีหัวหน้าปกครองตามที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน คือ
กลุ่มที่ 1 มาอยูที่บ้านเมืองที (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม
กลุ่มที่ 2 มาอยูที่บ้านกุดหวายหรือเมืองเตา (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี) มีหัวหน้าชื่อ เชียงลี
กลุ่มที่ 3 มาอยูที่บ้านเมืองลีง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอจอมพระ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสง
กลุ่มที่ 4 มาอยูที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน (ปัจจุบันคือบ้านพื้นที่โดยรอบของปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนหรือสมัยหลังถูกบิดเบือนชื่อมาเป็นปราสาทกุด(ปัจจุบันในบริเวณภายในพื้นที่ของวัดเจ็ก) อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) มีหัวหน้าชื่อ ตากะจะ และ เชียงขัน
กลุ่มที่ 5 มาอยูที่บ้านอัจจะปะนึง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสังขะ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงฆะ
กลุ่มที่ 6 มาอยูที่บ้านกุดปะไท (ปัจจุบันคือบ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ) มีหัวหน้าชื่อ เชียงไชย
ชาวกูย กวย ส่วย (ขอม) เหล่านี้มีความชำนาญในการคล้องช้าง ด้านการเมืองการปกครอง ด้านการทหาร ด้านวิศวกรรม ด้านการแพทย์ ทำการเกษตร หาของป่า ป่าดงแถบนี้เดิมมีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ เช่น โขลงช้างพัง ช้างพลาย ฝูงเก้ง กวาง ละมั่ง และโคแดง ในอดีตแต่ละชุมชนชาวกูยมีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ซึ่งไม่ได้มีเส้นเขตแดนีดแบ่งกันในแบบสมัยปัจจุบัน
สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) แห่งกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกเขตกรุงหนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตพิมาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ขุนนางสองพี่น้อง (เข้าใจว่า คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) กับไพร่พล 30 คน ออกติดตามช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย ได้มาสืบถามร่องรอยช้างจากชาวเมืองพิมายซึ่งเป็นผู้ชำนาญภูมิประเทศในแถบนั้น ก็ได้รับคำแนะนำให้ไปสืบถามพวกส่วย มอญ แซก โพนช้างอยู่ริมเขาดงใหญ่เชิงเขาพนมดงรัก เมื่อได้รับคำแนะนำจากชาวเมืองพิมายว่าช้างเผือกหนีไปทางไหนแล้ว ขุนนางสองพี่น้องพร้อมด้วยไพร่พลออกติดตามต่อมาตามลำน้ำมูลมาพบเชียงสีหรือตากะอาม หัวหน้าบ้านกุดหวาย เชียงสีได้พาขุนนางสองพี่น้องไปพบหัวหน้าหมู่บ้านอื่น ๆ เพื่อจะได้ช่วยกันตามหาช้างเผือกต่อไป โดยไปหาเชียงปุมที่บ้านเมืองที เชียงปุมได้ร่วมสมทบกับขุนนางสองพี่น้องพากันไปหาเชียงไชยที่บ้านกุดปะไท (บ้านจารพัต) ไปหาตากะจะและเชียงขันที่บ้านโคกลำดวน(หรือชือเรียกเต็มว่าบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน) ไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง จึงทราบข่าวจากเชียงฆะว่า ได้พบช้างเผือกเชือกหนึ่งมีเครื่องประดับที่งาพาบริวารซึ่งเป็นช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโชก หรือหนองบัวในเวลาบ่ายทุกวัน
เชียงฆะก็พาขุนนางสองพี่น้องและพวกไปยังหนองโชก พากันขึ้นต้นไม้ที่ริมหนองโชกเพื่อดูช้างโขลงนั้น ครั้นเวลาบ่ายช้างโขลงนั้นก็ออกจากชายป่ามาเล่นน้ำตามเคย ปรากฏว่าช้างเผือกที่หายมานั้นอยู่กลางฝูงพากันลงเล่นน้ำที่หนองโชก ขุนนางทั้งสองจึงเอาก้อนอิฐแปดก้อนที่นำมาจากบ้านเมืองทีขึ้นเสกเวทมนตร์ตามพิธีกรรมคชศาสตร์ อธิษฐานแล้วขว้างไปยังโขลงช้างทั้งแปดทิศ ฝ่ายช้างป่าก็แตกตื่นหนีเข้าป่าหมด คงเหลืออยู่แต่ช้างเผือกเชือกเดียวขุนนางสองพี่น้องก็ลงจากต้นไม้พากันขึ้นขี่หลังช้างโดยง่าย เมื่อจับช้างได้แล้ว ขุนนางสองพี่น้องและบริวารพากันเดินทางกลับ หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายที่มาช่วยเหลือในการติดตามช้าง ก็ได้อำนวยความสะดวกในการควบคุมช้างเผือกมาส่งที่กรุงศรีอยุธยาด้วย เมื่อมาถึงพระนครแล้ว ขุนนางสองพี่น้องจึงได้นำหัวหน้าหมู่บ้านทั้งหลายเข้าเฝ้าสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ และกราบบังคมทูลเหตุการณ์ทั้งหมดให้ทรงทราบ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งบรรดาหัวหน้าชาวกูย (กวย, ส่วย) ให้มีฐานันดรศักดิ์ คือ
ตากะจะ เป็น หลวงแก้วสุวรรณ
เชียงขัน เป็น หลวงปราบ
เชียงฆะ เป็น หลวงเพชร
เชียงปุม เป็น หลวงสุรินทรภักดี
เชียงลี เป็น หลวงศรีนครเตา
เชียงไชย เป็น ขุนไชยสุริยงค์
กลับไปปกครองคนในหมู่บ้านของตน โดยอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
พ.ศ. 2306 หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) ได้ขอพระบรมราชานุญาตย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีซึ่งคับแคบและไม่สะดวกในการทำมาหากินไปตั้งที่บ้านคูประทายหรือบ้านคูประทายสมันต์ คือที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบถึง 2 ชั้น เป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะป้องกันและต่อต้านศัตรูที่มารุกรานได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหลวงสุรินทร์ภักดีจึงได้อพยพราษฎรบางส่วนไปอยู่ที่บ้านคูประทาย ส่วนญาติพี่น้อง ชื่อเชียงบิด เชียงเกตุ เชียงพัน นางสะตา นางแล และราษฎรส่วนหนึ่งคงอยู่ ณ หมู่บ้านเมืองทีตามเดิม ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) กับญาติร่วมกันสร้างเจดีย์ 3 ยอด สูง 18 ศอก และสร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง 4 ศอก ซึ่งปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อย้ายถิ่นฐานจากบ้านเมืองทีไปอยู่ที่บ้านคูประทายแล้ว หัวหน้าหมู่บ้านทั้ง 5 จึงได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา นำสิ่งของไปทูลเกล้าถวาย คือ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณี เพราะว่าขณะนั้นบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์จะได้อพยพมาตั้งฐิ่นฐานอยู่ในดินแดนอันเป็นป่าดงทึบส่วนนี้ โดยตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่อย่างมั่นคงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของกรุงศรีอยุธยา ยังคงถือว่าเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในป่าดงในราชอาณาเขตเท่านั้น ซึ่งกรุงศรีอยุธยาเริ่มรู้จักก็โดยหัวหน้าหมู่บ้านได้ช่วยเหลือจับช้างเผือกคืนกรุงศรีอยุธยา และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำของไปทูลเกล้าถวายแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้น ดังนี้
หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) เป็น พระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ยกบ้านคูประทาย เป็น เมืองประทายสมันต์ ให้พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองปกครอง ต้นตระกูล "อินทนูจิตร'
หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็น พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านดงยาง เป็น เมืองสังฆะ ให้พระสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงศรีนครเตา (เชียงสี หรือตากะอาม) เป็น พระศรีนครเตา ยกบ้านกุดหวาย เป็น เมืองรัตนบุรี ให้พระศรีนครเตา เป็นเจ้าเมืองปกครอง
หลวงแก้วสุวรรณ (ตากะจะ) เป็น พระไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน เป็น เมืองขุขันธ์ ให้พระไกรภักดีศรีนครลำดวน เป็นเจ้าเมืองคนแรกปกครอง
การปกครองบังคับบัญชาแบ่งเป็นหมวดหมู่ เป็นกอง มีนายกอง นายหมวด นายหมู่ บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย หัวหน้าหมู่บ้านทั้งหมดก็เดินทางกลับและปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบสุขตลอดมา
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปีพ.ศ. 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพและตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมืองสุรินทร์ก็ขึ้นต่อกรุงธนบุรี
เมื่อพ.ศ. 2318 พญาโพธิสาร จากนครจำปาศักดิ์ยกทัพมากวาดต้อนครัวบ้านครัวเมือง เมืองสุวรรณภูมิ เมืองตักศิลา (อำเภอราษีไศล) และเมืองศรีนครเขต (ศรีสะเกษ) ทิ้งให้เป็นเมืองร้าง
ครั้นเมื่อปีพ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสิน) จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปสมทบกำลังเกณฑ์เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะบุรี และกองทัพช้างคูประทายสมันต์ ขึ้นไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองนครพนม บ้านหนองคาย เวียงจันทน์ เป็นกำลังสำคัญในการขยายอิทธิพลสู่เขมร
ในปีพ.ศ. 2324 ทางฝ่ายเขมรเกิดการจลาจล โดยเจ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิมลราช (ฮู) ฝักใฝ่ในทางญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้า ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปราม โดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ ประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) สังขะ ไปช่วยปราบปรามเมืองประทายเพชร ประทายมาศ เมืองรูงตำแรย์ กำปงสวายและเสียมราฐ การปราบปรามยังไม่ราบคาบ เกิดความไม่สงบขึ้นในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวจึงเลิกทัพกลับคืนมายังกรุงธนบุรี
ในระหว่างสงครามครั้งนี้ได้มีพวกเขมรหลบหนีสงครามจากเมืองเสียมราฐ กำปงสวาย ประทายเพชร และเมืองอื่น ๆ เข้ามาอยู่ในเมืองประทายสมันต์ และสังขะเป็นจำนวนมาก อาทิ ออกญานินทร์เสน่หา จางวาง ออกไกรแป้น ออกญาตูม นางดาม บุตรีเจ้าเมืองประทายเพชร (ซึ่งอาจจะเป็นชาวกูย) รวมทั้งพี่น้องบ่าวไพร่เมืองเสียมราฐ (ซึ่งอาจจะเป็นชาวกูย และเขมร ซึ่งยังคงมีการอาศัยกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) ก็ได้พากันมาอยู่เมืองประทายสมันต์ด้วย ต่อมานางดามได้แต่งงานกับสุ่นหลานชายของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ภายหลังชาวเขมรทราบว่า นางดามซึ่งเป็นนายของตนมาเป็นสะใภ้เจ้าเมือง จึงพากันอพยพมาอยู่ที่เมืองคูประทายมากขึ้น ดังนั้น ชาวเมืองคูประทาย ซึ่งเป็นชาวกวยจึงปะปนกับเขมรและเพราะเหตุที่ชาวเขมรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน วัฒนธรรมตลอดทั้งความเป็นอยู่ จึงผันแปรไปทางเขมรมากขึ้นประกอบกับเมืองสุรินทร์รับผิดชอบเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแดนเขมร ตลอดจนให้เจ้าเมืองกรมการเมืองต่าง ๆ เหล่านี้จัดส่งคนไปลาดตระเวน เกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตรับผิดชอบเดือนละสองครั้ง ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองสุรินทร์ ทำให้วัฒนธรรมเขมรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อเสร็จศึกสงครามเมืองเวียงจันทน์และเมืองเขมรแล้ว เจ้าเมืองประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" ทั้ง 3 เมือง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปีพ.ศ. 2325 และตั้งกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
พ.ศ. 2306 หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ได้ขอพระบรมราชานุญาตย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีที่คับแคบไปตั้งที่บ้านคูประทายคือที่ตั้งเมืองสุรินทร์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่กว้างใหญ่ มีกำแพงค่ายคูล้อมถึงสองชั้นเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม ระหว่างที่อยู่บ้านเมืองที หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ได้สร้างเจดีย์สามยอด สูง 18 ศอก สร้างโบสถ์พร้อมพระปฏิมา หน้าตักกว้าง 4 ศอก ยังปรากฏอยู่ที่วัดเมืองทีมาถึงปัจจุบัน ต่อมาหัวหน้าหมู่บ้านชาวกูยทั้งห้าคนได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา และได้นำสิ่งของไปถวายคือ ช้าง ม้า แกนสม ยางสน นอระมาด งาช้าง ปีกนก ขี้ผึ้ง เป็นการส่งส่วยตามราชประเพณีมาแต่โบราณ และประกอบกับเป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้ง มีความชอบเป็นอันมากมาก จึงโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น "พระยาสุรินทรภักดีศรีจางวาง (เชียงปุม)" (1) บรรดาศักดิ์ "พระยา" เป็นบรรดาศักดิ์ สำหรับขุนนางระดับสูง หัวหน้ากรมต่างๆ เจ้าเมืองชั้นโท และแม่ทัพสำคัญ ในพระไอยการฯ มีเพียง 33 ตำแหน่ง ดังนั้น จึงมีประเพณี พระราชทานเครื่องยศ (โปรดดูเรื่อง เครื่องราชอิสริยยศไทย) ประกอบกับบรรดาศักดิ์ด้วย โดย พระยาที่มีศักดินามากกว่า 5,000 จะได้รับพระราชทานพานทอง ประกอบเป็นเครื่องยศ จึงเรียกกันว่า พระยาพานทอง ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับสูง ส่วนพระยาที่มีศักดินาต่ำกว่านี้ จะไม่ได้รับพระราชทานพานทอง 2)บรรดาศักดิ์ จางวาง เป็นบรรดาศักดิ์ชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก, ตำแหน่งผู้กำกับการ)
พ.ศ. 2329 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในการเปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์ เป็นเมืองสุรินทร์ครั้งนี้ได้โปรดเกล้า ให้เจ้าเมืองพิมาย แบ่งปันอาณาเขตให้เมืองสุรินทร์ ดังนี้
ทิศเหนือ จดลำห้วยพลับพลา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแขวงเมืองรัตนบุรี ตั้งแต่แม่น้ำมูล ถึงหลักหินตะวันออกบ้านโพนงอยถึงบ้านโคกหัวลาว และต่อไปยังบ้านโนนเปือย และตามคลองห้วยถึงบ้านนาดี บ้านสัจจังบรรจง ไปทางตะวันออกถึงห้วยทับทัน
ทิศตะวันออก จดห้วยทับทัน
ทิศตะวันตก ถึงลำห้วยตะโคง หรือชะโกง มีบ้านกก บ้านโคกสูง แนงทม สองขั้น และห้วยราช
ส่วนทางทิศใต้ไม่ได้บอกไว้ เพราะขณะนั้นเมืองเขมรบางส่วนอยู่ในความปกครองของไทย เช่นบ้านจงกัลในเขตเขมรปัจจุบัน เคยเป็นอำเภอจงกัลของไทย ขึ้นกับเมืองสังขะ
พ.ศ. 2337 พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) เจ้าเมืองกูยสุรินทร์ถึงแก่กรรม
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ต้นตระกูล "อินทนูจิตร" มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 คน ชื่อนายตี และนายมี เป็นหญิง 2 คน ชื่อนางน้อยและนางเงิน เมื่อพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (เชียงปุม) ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้า ตั้งให้นายตี บุตรชายคนโต เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมืองสุรินทร์คนต่อมา
พ.ศ. 2342 มีตราโปรดเกล้า ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เมืองละ 100 รวม 300 เข้ากองทัพยกไปตีกองทัพพม่า ซึ่งยกมาตั้งอยู่ในเขตแขวง เมืองนครเชียงใหม่ แต่กองทัพไทยมิทันไปถึงได้ข่าวว่ากองทัพพม่าถอยไปแล้ว ก็โปรดเกล้าให้ยกกองทัพกลับ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปลี่ยนนามพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ตี) เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์
พ.ศ. 2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้ง มีความชอบมาก จึงโปรดเกล้า ให้ทั้ง 3 เมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เลยทีเดียว มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน [4]
พ.ศ. 2351 พระสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เจ้าเมืองกูยสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งหลวงวิเศษราชา (มี) ผู้เป็นน้องชาย เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
สมัยรัชกาลที่ 2
พ.ศ. 2354 พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งให้นายสุ่น บุตรพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ตี) เป็นพระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์เจ้าเมืองสุรินทร์สืบต่อไป
ต่อมาเมืองขุขันธ์ ขออนุญาตยกบ้านลังเสนเป็นเมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายมาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็นเมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ
สมัยรัชกาลที่ 3
เขตแขวงเมืองจำปาศักดิ์ไปจนถึงเมืองเวียงจันทน์อยู่ในอำนาจเจ้าอนุเมืองเวียงจันทน์กับเจ้าโย่บุตรที่ครองเมืองจำปาศักดิ์ พ่อลูกทั้งสองเห็นว่ามีเขตแขวงและกำลังผู้คนมากขึ้นก็มีใจกำเริบคิดกบฏต่อกรุงเทพ เมื่อปีพ.ศ. 2369 เจ้าอนุแต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์ คุมกองทัพยกเข้าตีหัวเมืองรายทางเข้ามาจนถึงจังหวัดนครราชสีมา
ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (โย่) ก็เกณฑ์กำลังยกเป็นกองทัพมาตีเมืองขุขันธ์แตกจับพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์กับพระภักดีภูธรสงครามปลัด (มานะ) พระแก้วมนตรียกกระบัตร (เทศ) กับกรมการได้และฆ่าเสีย ส่วนเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ ได้มีการป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งทั้งกลางวันและกลางคืน และไดด้เกณฑ์กำลังไพร่พลไปสมทบกับกองทัพหลวงจนเสร็จสงคราม สาเหตุการกบฏครั้งนี้มีหลักฐานทั้งฝ่ายไทยและเอกสารพื้นเวียง เสนอประเด็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ไว้ 3 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 การสักเลก (การสักข้อมือคนในบังคับ) ในหัวเมืองอีสาน สำหรับการสักเลกนี้ไม่มีหลักฐาน่วาเริ่มเมื่อใดแต่อย่างน้อยที่สุดประมาณปีพ.ศ. 2317 ช่วงสมัยธนบุรี จนเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในปีพ.ศ. 2369 [5] การส่งข้าหลวงมาสักเลกสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนในหัวเมืองเขมรป่าดงอย่างมาก ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเจ็บตัวจากการสักเลกแล้วยังต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสักเลกอีก คนละ 1 บาท 1 เฟื้อง
ประเด็นที่ 2 ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเมืองขุขันธ์ เอกสารพื้นเวียงกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมา จากการศึกษาของพรรษา สินสวัสดิ์ กล่าวไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีความเชื่อมั่นและวางพระทัยในความสามารถของพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมาดำเนินการบางประการที่ทำให้เดือดร้อนแก่หัวเมืองลาว และหัวเมืองต่างๆ ของชาวกูย (เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองขุขันธ์ เป็นต้น) จนเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางกับหัวเมืองในกลุ่มดังกล่าว เช่น ในครั้งพระยาพรหมภักดีมีคำสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลจากเมืองอุบลราชธานี เมืองจำปาศักดิ์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์จะยกไปตีชาวข่า (ขอม) ในเขตแดนจำปาศักดิ์เพื่อกวาดต้อนส่งเข้ามากรุงเทพในครั้งนั้น พระยาไกรภักดีเจ้าเมืองขุขันธ์ได้เกิดขัดแย้งกับพระยาพรหมภักดีอย่างรุนแรงถึงกับพระยาไกรภักดีมีใบบอกฟ้องเข้ามายังกรุงเทพ ว่าพระยาพรหมภักดีทำการกดขี่ข่มเหง ทางกรุงเทพ จึงได้ส่งขุนนางผู้ใหญ่ขึ้นไปสอบสวนผลการสอบสวนปรากฏว่า พระยาพรหมภักดีไม่ผิด ความขัดแย้งระหว่างพระยาพรหมภักดีกับพระยาขุขันธ์ได้เกิดบานปลายออกไปเมื่อ พระยาพรหมภักดีสนับสนุนให้เจ้าทิงหล้า ซึ่งเป็นน้องชายของพระยาขุขันธ์ ก่อการกบฏต่อพระยาขุขันธ์ และพระยาพรหมภักดีนำ (กองทัพ) จังหวัดนครราชสีมาขึ้นมาสนับสนุนเจ้าทิงหล้า และได้จุดไฟเผาเมืองขุขันธ์จนพระยาขุขันธ์ต้องหนีไปอยู่เมืองนางรอง
ประเด็นที่ 3 ความขัดแย้งระหว่างเจ้าเมืองนครราชสีมากับเจ้านครจำปาศักดิ์ (เมืองของชาวกูย กวย (ขอม)ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ปรากฏในพงศาวดารไทย แต่ในเอกสารพื้นเวียงกล่าวว่าเป็นฉนวนสำคัญที่สุดที่ทำให้เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏ [6] กล่าวคือ พระยาพรหมภักดีครองเมืองโคราชได้ 2 ปี มีความขัดข้องใจที่ไม่ได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ จึงจัดสร้างด่านใกล้เมืองพระยาไกรภักดี เจ้าเมืองขุขันธ์จนเกิดเรื่องกับพระยาไกรภักดี ดังกล่าวมาแล้ว ภายหลังพระยาพรหมภักดีเจ้าเมืองนครราชสีมามีหนังสือสารตรา ไปยังเมืองจำปาศักดิ์ (เจ้าราชบุตรโย่) เจ้าเมืองจำปาศักดิ์โกรธจึงไปทูลเจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์โกรธแค้นมาก
จาก 3 ประเด็นที่กล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์กับเจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอิน) และนำไปสู่กบฏเจ้าอนุวงศ์ในปีพ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทรน์ คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์ (เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธจับพระไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดีภูธรสงคราม (มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี (ทศ) ยกกระบัตรกับกรมการได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพจำปาศักดิ์ ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไปเมืองจำปาศักดิ์
เมื่อข่าวเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏได้ททราบถึงกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นทัพหน้าพร้อมด้วย พระยาราชนิกุล พระยากำแหง พระยารองเมือง พระยาจันทบุรี คุมไพร่พลไปทางเมืองพระตะบองขึ้นไปเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เกณฑ์เขมรป่าดงไปเป็นทัพขนาบกองทัพกรุงเทพ ได้ตามตีกองทัพลาวเรื่อยไปจนถึงเวียงจันทน์และตีเมืองเวียงจันทน์แตกเมื่อพ.ศ. 2370
เมื่อพ.ศ. 2371 ทรงพระโปรดเกล้า ให้เลื่อนพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทาย-สมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์เป็นเจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์
ส่วนทางเมืองสังขะ โปรดให้พระยาสังขะเป็นพระยาภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้บุตรพระยาสังขะ เป็นพระยาสังขะบุรีศรีนครอัจจะปะนึง
ในปีพ.ศ. 2372 หัวเมืองฝ่ายตะวันออกไม่เรียบร้อยดี เนื่องมาจากเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์เพราะราษฏรพากันหนีหลบภัยสงครามไปต่างเมือง เช่น หัวเมืองเขมรป่าดง ราษฎรพากันหลบหนีไปยังแถบเขมร ราษฎรเมืองนครราชสีมาก็พากันหลบหนีไปทางเมือง ลพบุรี เพชรบุรี ปราจีนบุรี เป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาขณะดำรงตำแหน่งพระยาราชสุภาวดีเป็นแม่กองออกไปจัดการหัวเมืองอีสาน-ลาว ทั้งหมด [7] และได้ไปจัดตั้งราชการสำมะโนครัว แต่งตั้งกองสักเลกอยู่ ณ กุดผไท (อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์)
ในปีพ.ศ. 2385 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ได้เกณฑ์คน หัวเมืองในแถบอิสานใต้ หัวเมืองขุขันธ์ 2,000 คน เมืองสุรินทร์ 1,000 คน เมืองสังขะ 300 คน เมืองศรีสะเกษ 2,000 คน เมืองเดชอุดม 400 คน รวม 6,200 คน [8] และในปีพ.ศ. 2381 เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้กำลังจากเมืองลาว หัวเมืองชาวกูย เมืองนครราชสีมา 12,000 คน เกณฑ์กำลังขึ้นไปสมทบทัพกรุงเทพ ที่เมืองอุดมมีชัยไปรบในกัมพูชา
สมัยรัชกาลที่ 4
เจ้าพระยาสุรินทร์ภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อพ.ศ. 2394 กรมการเมืองสุรินทร์ได้เข้าไปเฝ้าถึงกรุงเทพจึงโปรดเกล้า ให้พระยาบดินทรเดชา สมุหนายกปรึกษากับกรมการเมืองสุรินทร์ ที่ประชุมเห็นว่า พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) ผู้ช่วยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นผู้มีปัญญารู้หลักราชการและมีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่ไพร่บ้านพลเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตรให้พระยาพิชัยราชวงศา (ม่วง) เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ตั้งแต่เดือนอ้าย ปีชวด จัตวาศก พ.ศ. 2395 [10] และในปีเดียวกันได้โปรดเกล้า ให้หลวงนรินทร์ราชวงศา (นาก) บุตรเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระไชยณรงค์ภักดี ปลัดให้พระมหาดไทย (จันทร์) บุตรเจ้าวงศา หลานเจ้าพระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ (สุ่น) เป็นพระยาพิชัยบวรวุฒิ ยกกระบัตร รักษาราชการเมืองสุรินทร์ต่อไป
รัชสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-พ.ศ. 2453)
พ.ศ. 2412 พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ เจ้าเมืองชาวกูยเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งบ้านกุดไผท หรือจารพัตเป็นเมือง ขอหลวงไชยสุริยง (คำมี) บุตรหลวงไชยสุริยวงศ์ (หมื่น) กองนอกไปเป็นเจ้าเมือง ส่วนตำแหน่งปลัดและยกกระบัตรเมืองสังฆะว่าง ขอพระสุนทรพิทักษ์บุตรพระปลัดคนเก่าขึ้นเป็นปลัด และขอหลวงศรีสุราชผู้หลานเป็นยกกระบัตรเมืองสังฆะ ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ในปีมะเส็งนั้น (พ.ศ. 2412) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้มีตราพระราชสีห์ ตั้งบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัต เป็นเมืองศีขรภูมิพิไสย ตั้งให้หลวงไชยสุริยงกองนอกเป็นพระศีขรภูมานุรักษ์เจ้าเมือง ขึ้นเมืองสังฆะ
ฝ่ายทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีประทายสมันต์ เห็นว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้ขอบ้านกุดไผทเป็นเมืองศีขรภูมิแล้ว ก็เกรงว่าพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ จะเอาบ้านลำดวนเป็นเขตแขวงด้วย จึงได้มีใบบอกขอตั้ง้านลำดวนเป็นเมือง ขอให้พระไชยณรงค์ภักดี (นาก) ปลัดเมืองสุรินทร์ เป็นเจ้าเมืองจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลำดวนขึ้นเป็นเมืองนามว่า เมืองสุรพินทนิคม ให้พระไชยณรงค์ภักดี ปลัด (บุนนาก) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคมขึ้นเมืองสุรินทร์มาแต่นั้น
พ.ศ. 2415 ฝ่ายพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ได้มีใบบอกขอตั้งบ้านลุมพุกเป็นเมือง ขอพระมหาดไทยเมืองสังฆะเป็นเจ้าเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านลุมพุกขึ้นเป็นเมืองกันทรารมย์ ให้พระมหาดไทยเป็นพระกันทรานุรักษ์ เจ้าเมืองกันทรารมย์ ขึ้นกับเมืองสังฆะ
พ.ศ. 2416 พระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองก็ถึงแก่กรรม พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เห็นว่าหลวงงพิทักษ์สุนทรบุตรพระปลัดกรมการเมืองสังฆะ ซึ่งสมัครมาอยู่เมืองสุรพินทนิคมเป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงดี จึงได้ให้หลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมหลวงพิทักษ์สุนทรรับราชการตำแหน่งเจ้าเมืองสุรพินทนิคมได้สามปีก็ถึงแก่กรรมแต่นั้นมาเจ้าเมืองสุรพินทนิคมจึงว่างตลอดมา
พ.ศ. 2419 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระศักดิ์เสนีย์ เป็นข้าหลวงออกไปตั้งสืบสวนจับโจรผู้ร้ายหัวเมืองตะวันออก เนื่องจากพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) และพระยาสังขะได้บอกมายังกรงเทพ ว่าเกิดโจรผู้ร้ายปล้นลักทรัพย์สิ่งของราษฎรในเขตของเมืองทั้งสองแล้วหนีเข้าไปแขวงเมืองบุรีรัมย์ เมืองนางรอง เมืองประโคนชัย ราษฎรได้รับความเดือดร้อนมาก ข้าหลวงที่ส่งไปเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เมื่อปราบโจรผู้ร้ายเสร็จแล้วก็กลับกรุงเทพ ข้าหลวงที่ได้รับการแต่งตั้งลักษณะนี้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดได้ทุกเมือง
พ.ศ. 2424 ฝ่ายทางเมืองจงกัล ตั้งแต่โปรดเกล้า ให้หลวงสัสดี (ลิน) เป็นพระวิไชย เจ้าเมืองจงกัล พระวิไชยรับราชการได้ 7 ปี ก็ถึงแก่กรรม เจ้าเมืองสังฆะจึงได้ให้พระสุนทรนุรักษ์ผู้หลานนำใบบอกไปกรุงเทพ ขอให้พระสุนทรนุรักษ์เป็น พระทิพชลสินธุ์อินทรนฤมิตร
ทางเมืองสุรินทร์ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ตำแหน่งยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ว่าง ขอพระมหาดไทยเป็นพระยกกระบัตร เมื่อวันศุกร์ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งให้พระมหาดไทยเป็นพระไชยนครบวรวุฒิ ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์
พ.ศ. 2425 คนทางเมืองสุรินทร์ได้อพยพครอบครัวเป็นอันมาก ข้ามไปตั้งอยู่ฟากลำน้ำมูลข้างเหนือ มีบ้านทัพค่าย เป็นต้น พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงได้มีใบบอก ขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมือง ขอพระวิเศษราชา (ทองอิน) เป็นเจ้าเมือง วันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งบ้านทัพค่ายเป็นเมืองชุมพลบุรี ให้พระวิเศษราชา (นัยหนึ่งว่า หลวงราชวรินทร์ ทองอิน) เป็นพระฤทธิรณยุทธ เจ้าเมืองและโปรดเกล้า ให้ตั้งท้าวเพชรเป็นที่ปลัด ให้ท้าวกลิ่นเป็นที่ยกกระบัตร ทั้งสองคนนี้เป็นพี่ชายพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) และท้าวนุด บุตรพระฤทธิรณยุทธ (ทองอิน) เป็นผู้ช่วยเมืองชุมพลบุรี พร้อมกันนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ตั้งนายปรางค์ บุตรพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เป็นพระสุรพินทนิคมานุรักษ์ เจ้าเมืองสุรพินทนิคม แทนคนเก่าที่ถึงแก่กรรมและตำแหน่งเจ้าเมืองยังว่าง
พ.ศ. 2492 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองจำปาศักดิ์ ได้เชิญประชุมเจ้าเมืองภาคอีสานขึ้น ณ เมืองอุบล เพื่อสำรวจชายฉกรรจ์และแก้ไขระเบียบการจัดเก็บภาษีอากร ในระหว่างการประชุมข้าราชการอยู่นั้น ได้รับรายงานว่า ทัพฮ่อเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์แตกการประชุมต้องยุติลง พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ต้องรีบระดมกำลังขึ้นไปยังเมืองหนองคายโดยด่วนเพื่อสมทบกับกองทัพเมืองนครราชสีมา ส่วนกองทัพจากกรุงเทพนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปสมทบที่เมืองหนองคาย ซึ่งเป็นจุดชุมนุมพล สำหรับพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์นั้นได้มีคำสั่งให้ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบล เพราะเจ้าเมืองและกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพในครั้งนั้นด้วย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ช่วยราชการอยู่ที่เมืองอุบลอยู่ 2 ปี จึงได้กลับเมืองสุรินทร์ เมื่อพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ย่างเข้าสู่วัยชราภาพแล้ว ไม่อาจจะปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เต็มที่ จึงได้มอบให้นายเยียบ (บุตรชาย) ช่วยราชการเป็นการภายใน
พ.ศ. 2432 พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ข้าหลวงใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งมีอำนาจเต็มในภาคอีสานทั้งหมด ได้แต่งตั้งใบประทวนให้ ยานเยียบ เป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ รักษาราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ต่อไป แต่อยู่ได้เพียง 2 ปี ก็ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2433 พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) จึงต้องกลับมาเป็นเจ้าเมือง อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนั้นเอง
พ.ศ. 2434 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตตะปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศรีสะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว
พ.ศ. 2435 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ซึ่งย้ายมาแทนพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ได้ทรงแต่งตั้งให้พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) น้องชาย พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ (เปลี่ยนจากเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง)
ในสมัยที่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์นี้ เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังปรับปรุงระบบบริหารใหม่ ข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์มณฑลอีสานได้ทรงวางระเบียบให้มีข้าราชการจากส่วนกลาง มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการทุกหัวเมือง สำหรับเมืองสุรินทร์ หลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงกำกับราชการ มีอำนาจเด็ดขาด ทัดเทียมผู้ว่าราชการเมือง นับเป็นครั้งแรกที่ไม่ใช่เชื้อสายบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ด้วยความไม่เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของชาวเมืองได้ดีพอจึงทำให้ดำเนินการบางอย่างผิดพลาด มิชอบโดยหลักการ แต่พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) เจ้าเมืองไม่อาจขัดขวางได้เพราะเห็นว่า ถ้าเข้าขัดขวางแล้วก็จะมีแต่ความร้าวฉาน ขาดความสามัคคีในชนชั้นปกครอง
พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองสุรินทร์จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวสุรินทร์จะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ
กรณีพิพาทกับฝรั่งเศสสงบลงไม่นานนัก ในปีเดียวกันนี้ พระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์ ได้ถึงแก่อนิจกรรม โดยที่ยังไม่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เป็นที่ พระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ตามตำแหน่ง ในช่วงระยะนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ผู้สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้สั่งย้ายหลวงธนสารสุทธารักษ์ (หว่าง) และแต่งตั้งหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองสุรินทร์แทน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ระหว่างที่เสด็จกลับกรุงเทพผ่านเมืองสุรินทร์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรได้ทรงแต่งตั้งพระพิชัยนครบวรวุฒิ (จรัญ) ยกกระบัตรเมือง เป็นผู้รักษาเมืองสุรินทร์และเมื่อเสด็จถึงกรุงเทพ แล้วได้กราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งให้พระพิชัยนครบวรวุฒิเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์สืบต่อมาและถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2438 (รัตนโกสินทรศก 114)
ระหว่างนี้ ได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนตัวข้าหลวงกำกับราชการโดยลำดับกล่าวคือ หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์ (ล้อม) ดำรงตำแหน่งอยู่ประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปอยู่จังหวัดศรีสะเกษสับเปลี่ยนกับจมื่นวิไชยยุทธเดชาคณี (อิ่ม) จมื่นวิชัยยุทธเดชาคณี ดำรงตำแหน่งประมาณ 1 ปี ก็ย้ายไปโดยมีหลวงวิชิตชลชาญมาดำรงตำแหน่งแทน ชั่วระยะเวลาอันสั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ก็ได้ย้ายหลวงสาทรสรรพกิจมาดำรงตำแหน่งในประมาณปีพ.ศ. 2438
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (จรัญ) ถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2438 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้ พระพิชัยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์สืบต่อมา สันนิษฐานว่าพระพิชัยณรงค์ภักดีเป็นบุตรของนายพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (มี) เจ้าเมืองสุรินทร์คนที่ 3 พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. 2450 และเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว จึงได้รับสัญญาบัตรแต่งตั้งให้เป็นที่พระสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงโปรดให้หลวงประเสริฐสุรินทรบาล (ตุ่มทอง) ซึ่งเป็นบุตรพระไชยณรงค์ภักดี (บุนนาก) ผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์คนที่ 8 เป็นผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสุรินทร์แทน แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรมในปีพ.ศ. 2451 และในต้นปีพ.ศ. 2451 นี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ไปรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังเป็นช่วงเวลาที่ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินในราชการบริหารส่วนภูมิภาค (เข้าสู่แบบเทศาภิบาล) ส่วนกลางได้เริ่มแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายปกครองมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดบ้าง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดบ้าง บุคคลแรกที่ได้รับแต่งตั้งมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสุรินทร์ ในปีพ.ศ. 2451 คือ พระกรุงศรีบุรีรักษ์ (สุม สุมานนท์)
จังหวัดสุรินทร์มีการปกครองแบบเทศาภิบาลจนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล
จังหวัดสุรินทร์มีการปกครองแบ่งออกเป็น 17 อำเภอ 158 ตำบล 2,011 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองสุรินทร์
อำเภอชุมพลบุรี
อำเภอท่าตูม
อำเภอจอมพระ
อำเภอปราสาท
อำเภอกาบเชิง
อำเภอรัตนบุรี
อำเภอสนม
อำเภอศีขรภูมิ
อำเภอสังขะ
อำเภอลำดวน
อำเภอสำโรงทาบ
อำเภอบัวเชด
อำเภอพนมดงรัก
อำเภอศรีณรงค์
อำเภอเขวาสินรินทร์
อำเภอโนนนารายณ์